vendredi 26 août 2011

ท่องปารีส (ตอน 2)

กว่าจะเขียนตอนที่ 2 ได้ ก็ใช้เวลาเกือบ 1 อาทิตย์ มันช่างขี้เกียจดีจริงๆ เวลาบ้าจะเขียนก็แบบเอาเป็นเอาตายกันไปข้างนึงเลยทีเดียว ห้ามใครมาขัดจังหวะด้วย ไม่งั้นมีเหวี่ยง (คนที่บ้านโดนไปแล้ว หุหุ)

ถึงไหนแล้วหว่า?? งั้นมาต่อกันที่ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมปงปีดูแล้วกัน

ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมปงปีดู

ที่นี่เป็นอาคารสมัยใหม่ รูปร่างแปลกตาไม่มีใครเหมือน โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเหล็กรุด้วยกระจก โดยนำโครงสร้างของอาคารที่ควรจะอยู่ด้านในมาไว้ข้างนอกซะหมด เช่นท่อแอร์ ท่อสายไฟฟ้า ท่อน้ำประปา นอกจากนี้ยังมีโรงภาพยนต์ ห้องสมุด และร้านค้า ร้านหนังสืออยู่ด้านในด้วย

อาคารแห่งนี้ก่อสร้างโดย ประธานาธิบดีชอร์ช ปงปีดู ในปี 1911 -1974 โดยพิพิธภัณฑ์จะตั้งอยู่ที่ชั้น 4 จัดแสดงศิลปะตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 จนถึงปัจจุบัน ระเบียงชั้นบนสุดเป็นจุดชมวิวโดยไม่ต้องจ่ายเงิน เปิดตั้งแต่ 11.00 น. - 21.00 น.






ส่วนด้านนอกจะมีโชว์เป็นจุดๆ ไป ถ้าใครชอบก็สามารถบริจาคเงินได้ แล้วแต่สะดวก แต่เราแค่ดูเฉยๆ คะ ทุนทรัพย์ไม่ค่อยมี อิอิ

ด้านข้างก็จะมีร้านขายของที่ระลึก โปสการ์ด ให้เลือกซื้อเยอะแยะไปหมดเลยคะ

อยากได้ไอเฟลทาวเวอร์ที่เป็นสีๆ ด้านในนะคะ แต่แพงเหลือเกินอันละเกือบ 40 ยูโร  เลยทำได้แต่แอบถ่ายรูปมา (- -)"

เดินต่อมาเรื่อยๆ ทางด้านเหนือของศูนย์ฯ ปงปีดู คือย่านการ์ดีเยร์เดอลอร์ลอชจะเป็นแหล่งช้อปปิ้ง บนถนนหลายสายมาบรรจบกัน มีทั้งร้านเสื้อผ้าเบรนด์แนม และร้านยี่ห้อท้องถิ่นที่ตัดเย็บกันเอง ตลอดจนร้านเสื้อผ้าซึ่งมีคนจีนเป็นเจ้าของร้าน (น่านำเข้าจากเมืองจีน เพราะดูจากการตัดเย็บแล้วเหมือนประตูน้ำบ้านเรา ไม่ค่อยมีคุณภาพสักเท่าไร เหมาะสำหรับคนที่ใส่แป๊บๆ)



และที่สำคัญมีร้าน Zara ด้วยคะ อิอิ อยู่ตรงกันข้ามกับหอคอย Tour Saint-Jacques และเป็นสวนด้วย โชคดีของเราไปเพราะคุงแฟนจะได้มีที่นั่งรอ ไม่มาเดินกดดันระหว่างการช้อปปิ้งให้เสียเซลส์ แหะๆ ระแวกนี้ร้านเสื้อผ้าเบรนด์ดังๆ เยอะเลยคะ เข้าร้านนู้นออกร้านนี้สนุกกันไปเลย


หอคอย Tour Saint-Jacques

หอคอย Tour Saint -  Jacques ตูร์แซงต์ - ฌาคส์ 

เป็นคอหอยทรงโกธิก ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์แวงต์ - ฌาคส์ ครั้งหนึ่งเคยเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในปารีส แต่มาถูกรื้อถอนไปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เหลือไว้แต่หอคอยระฆังสูง 52 เมตร ตั้งอยู่กลางสวนสาธารณะเล็กๆ ปัจจุบันคอหอยแห่งนี้ใช้เป็นหอสังเกตุการณ์อุตุนิยมวิทยา



และเดินขึ้นไปตามถนน Rivoli ซึ่งเป็นถนนที่เรียงรายไปด้วยอาคารสวย แปลกตา มีร้านรวงมากมาย จะเจอกับ Hotel De Ville 

Hotel De Ville หรือศาลาว่าการเมืองปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือ หรือทางขวาของแม่น้ำแซน เป็นอาคารสไตล์นีโอเรอเนสซองส์ เป็นอาคารที่งดงามจับตาจริงๆ เป็นอาคารสูง 3 ชั้น 

อาคารหลังนี้เคยถูกเผาทำลายในวันที่ 24 พฤษภาคม 1871 โดยฝูงชนที่โกรธแค้นหลังจากที่ได้บุกทำลายคุกบาสตีย์ ในเหตุการณ์จราจลปารีสคอมมูน และต่อมาลานหน้าอาคารก็ได้ใช้เป็นลานประหารนักโทษการเมืองมากมาย ปัจจุบันได้บูรณะใหม่ใหญ่กว่าเดิม


Hotel De Ville หรือศาลาว่าการเมืองปารีส
ซึ่งวันที่ไปแดดแรงมาก มีประชาชนนำตาข่ายมาขึงเล่นวอลเล่ย์บอลกันอย่างสนุกสนาน



หลังจากนั้นเราก็ต่อเมโทรไปที่มหาวิหารนอเตรอดามกันคะ (แป๊บเดียวคะ แต่ขี้เกียจเดิน หุหุ) ที่จริงแล้วที่นี่ก็ไปมาหลายครั้งแล้วเหมือนกัน (อาจจะเห็นภาพที่แต่งตัวไม่เหมือนกัน หุหุ) แต่ยังไม่เคยขึ้นไปบนยอดของวิหารเลยสักที พอเห็นคนที่ต่อแถวรอแล้วขี้เกียจคะ หุหุ (แต่คนเยอะทุกครั้งจริงๆ นะ)


มหาวิหารนอเตรอดาม (Notre Dame de Paris)

มหาวิหารแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเกาะอิลเดอลาซิเต (lle de la Cite) หนึ่งในสองเกาะกลางแม่น้ำแชนอันเป็นจุดกำเนิดปารีสจากหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ ลูเตเซีย สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาปารีสครั้งแรก มักจะมาขอพรกับรูปปั้นพระแม่มาเรีย "แบล็กเวอร์จิน" สีดำ ให้ช่วยดลบันดาลให้การเดินทางราบรื่น หนุ่มสาวบางคนก็มาขอพรให้ได้พบคู่หรือขอให้ได้กลับมาเยือนปารีสอีก

มหาวิหารแห่งนี้เคยเป็นที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์หลายพระองค์เช่น พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ เป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสในช่วงสงครามร้อยปี พระเจ้าอองรีที่ 7 ก็ทรงรับมงกุฎที่นี่ และที่เป็นที่กล่าวขานมากที่สุดคือการสวมมงกุฎจักรพรรดิ์ให้กับตัวเองของนโปเลียน โบนาปาร์ต เนื่องจากพระสันตะปาปาปิอุึสที่ 7 ปฏิเสธไม่ยอมสวมงกุฎให้คดีโจน ออฟ อาร์ค วีรสตรีผู้ปกป้องฝรั่งเศสจากการรุกรานของอังกฤษในช่วงสงครามร้อยปี และได้รื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหลังถูกตัดสินให้เผาทั้งเป็นเมื่อ 24 ปีก่อน สุดท้ายนางได้รับการตัดสินว่าเป็นผู้บริสุทธิ์และสำนักงานวาติกันได้ประกาศให้นางเป็นนักบุญ และยังได้เป็นที่ประกอบพิธีอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารี อังตัวเนตต์อีกด้วย





ขี้เกียจอีกแระ เด๋วมาต่อคราวหน้านะคร๊า

Aucun commentaire:

Enregistrer un commentaire